วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2561

P to JK (2017) aka Policeman and Me

P to JK (2017) aka Policeman and Me ป่วนหัวใจนายโปลิส Live-Action👨‍✈️👸
#ปีนรั้วรีวิว #Comedy #Romance

      ไม่แน่ใจเหมือนกันนะว่าสาวๆญี่ปุ่นเค้านิยมแนวหนุ่มๆสูงวัยใช่เลยก็หรือยังไง เพราะช่วงหลังๆที่ดูหนังญี่ปุ่นบ่อยขึ้นก็มักจะเห็นหนังหรือ live-action แฟนตาซีสาวๆที่ชอบหนุ่มที่โตกว่าอย่างเช่น สาวมัธยมที่แอบหลงรักครูหนุ่มของตัวเอง ส่วน P to JK ก็เปลี่ยนจากครูหมุ่มมาเป็นสาวน้อยมัธยมวัย 16 ปีมาตกหลุมรักพี่ตำรวจที่อายุต่างกับถึง 10 ปีเลยทีเดียว แถมเป็นความรักที่ออกจะปุ๊บปั๊บรับโชคกันไปอีก

      คาโกะ โมโตยะ (
เด็กสาววัย 16 ปีที่แอบอ้างว่าตัวเองเป็นสาววัย 22 แต่หน้าเด็กเข้าไปในงานเลี้ยงนัดบอดของคนโสดกับเพื่อนๆ ทีแรกตัวเองก็หวังเพียงแค่ว่าอยากออกมาเที่ยวมาสนุกเปิดหูเปิดตาบ้าง แต่กลายเป็นว่าดันมีหนุ่มอย่าง โคตะ ทากาโนะ (มาถูกใจเข้าจริงๆ ซึ่งตัว คาโกะ เองที่ยังเป็นโสดอยู่ก็ปลื้ม โคตะ อยู่ไม่น้อย พองานเลี้ยงจบแล้ว โคตะ ก็อาสาเดินมาส่งเธอที่สถานีรถไฟ 

      แต่ระหว่างทางที่เดินคุยกัน คาโกะ ดันหลุดปากออกมาว่าตัวเองเพิ่งอายุ 16 ปีเท่านั้น โคตะ ก็เลยไม่พอใจและสวดเธอไปชุดใหญ่ ทำให้ทั้งสองคนต้องแยกย้ายกันกลับบ้าน แต่ระหว่างทาง คาโกะ ดันไปเจอกลุ่มวัยรุ่นพยายามเข้ามาลวนลาม ซึ่งเธอก็ได้ โคตะ ตามมาช่วยเอาไว้ แต่ว่า คาโกะ เองที่เอาตัวไปรับมีดแทนฝ่ายชายจนต้องเจ็บตัวเข้าโรงพยาบาล 

      ซึ่งหลังจากที่ คาโกะ ฟื้นขึ้นมาก็ไม่รู้อะไรดลใจให้ โคตะ ขอสาวน้อยวัย 16 ปีคนนี้แต่งงาน นี่ก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นของความรักต่างวัยที่ต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์  ว่าความต่างจะไม่ใช่ปัญหาหากสองคนมีความเข้าใจกันมากพอ

***เปิดเผยเนื้อหาบางส่วน***
**
      Live-Action จากมังงะ ของ Maki Miyoshi เรื่องนี้ เอาจริงตอนดูไม่ได้คาดหวังอะไรไว้กับเรื่องนี้เท่าไหร่นะ ด้วยคะแนนใน imdb ก็แค่ 5.8/10 เอง ก็เลยคิดว่าคงแค่หนังรักบันเทิงขำๆเรื่องหนึ่งเท่านั้น แต่พอได้ดูจริงๆแล้วมันก็เออออ…ใช้ได้นี่หว่า😃

      ตอนเราดูช่วงแรกหนังเองอาจจะมีความรู้สึกว่าหนังขาดความน่าเชื่อถือไปสักหน่อย อย่าที่เขียนไปตอนแรกคือทั้งสองคนก็เพิ่งรู้จักกันแค่เวลาคืนเดียว แต่ไหงพี่ตำรวจ โคตะ ถึงตัดสินใจขอ คาโกะ แต่งงาน แต่พอเราได้ดูไปจนถึงตอนที่หนังเล่าปมในใจของ โคตะ แล้ว มันก็พอเข้าใจได้นะว่าทำไมเขาถึงตัดสินใจที่จะแต่งงานกับเด็กคนนี้ (แม้จะยังดูเกินจริงไปหน่อยอยู่ดี แต่ก็พอเป็นเหตุผลมารองรับได้)

      แต่ฝั่งที่ดูจะไร้เหตุผลไปซักหน่อย(หรือจะบอกว่าเพราะเป็นเด็กน้อยก็เถอะ)อย่าง คาโกะ มันก็น่างงใจนะว่าทำไมเธอถึงตัดสินใจตกลงแต่งงาน ถึงสุดท้ายแล้วจะยังต้องไปฝ่าด่านอรหันต์พ่อแม่ต่ออีกก็เถอะ แต่เอาจริงนะคือ….จะไม่คิดทบทวนอะไรซักนิดหน่อยหรอ คือรู้สึกว่ามันแฟนตาซีไปหน่อยตรงจุดนี้ ส่วนพ่อแม่อะไรยังไงนั้นคงไม่สปอยนะ

      ส่วนปมในช่วงท้ายที่หนังพยายามสื่อและขยี้ก็ทำออกมาได้ดี  และเข้าใจหัวอกของพี่ตำรวจและครอบครัวของเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงกับความปลอดภัยของตัวเองได้ดีเลยนะ ถ้าเรามองภาพแนวคิดในอุดมคติของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว เราก็คงหวังว่าให้เจ้าหน้าที่ทุกคนทำงานอย่างเต็มที่และเสียสละ แต่บางครั้งเราอาจจะลืมไปว่าพวกเขาก็มีครอบครัวมีคนที่รออยู่ที่บ้านเหมือนกัน ไม่เฉพาะการที่ต้องทำงานเสี่ยงชีวิตอย่างเดียว แต่รวมถึงงานที่ไม่เป็นเวลาและไม่มีเวลาที่จะให้กับคนในครอบครัวได้มากพอ

      ซึ่งเจ้าตัวที่ก้มหน้าก้มตาทำงานของตัวเองกว่าจะเข้าใจ ก็เมื่ออาจจะสูญเสียสิ่งสำคัญที่ตัวเองมีอยู่ไปแล้ว ชอบในตอนท้ายของหนังกับที่ตัวละคร คาโตะพูดว่า “ ในฐานะที่ผมเป็นลูกพ่อ ผมอยากให้พ่อยังมีชีวิตอยู่ คนสำคัญของผมเคยบอกว่า อย่าให้คนที่อยู่ข้างหลัง ต้องมารู้สึกแบบนั้น หน้าที่ของตำรวจ ไม่ใช่การตายเพื่อคนรัก แต่คือการมีชีวิตอยู่ไปด้วยกันกับคนที่รัก”

      จริงแล้วไม่ใช่เฉพาะอาชีพตำรวจหรอก ก็ทุกอาชีพนั่นแหละที่ใครก็คงเข้าใจว่างานมันก็สำคัญไม่มีงานก็ไม่มีเงิน เพียงแต่ว่าชีวิตคนเรามันก็ยังมีอะไรอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าหน้าที่ที่ทำอยู่

      สรุปแล้ว P to JK (2017) Live-Action จากมังงะเรื่องนี้แม้อาจจะไม่ได้จัดว่าดีเลิศมากมายอะไร แต่ก็ยังทำได้ดีทั้งในแง่การให้ความแฟนตาซี โรแมนติก ความรักต่างวัย แล้วหนังเองก็ยังมีแง่มุมความรักบนความต่าง  และปมปัญหาของการแบกรับหน้าที่ความรับผิดชอบต่องานที่ทำและครอบครัวอีกด้วย

#MovieReview #รีวิวหนัง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Review: #Alive (2020)

 #Alive (2020) คนเป็นฝ่านรกซอมบี้ Screenwriter & Director:   Jo Il Hyung       ตั้งแต่ทั่วโลกได้รู้จักกับ Train to Busan ก็ต้องบอกว่า ไม...