วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

Daddy s Home (2015)


Daddy s Home (2015) สงครามป่วน ตัวพ่อสุดแสบ
#ปีนรั้วรีวิว #Comedy #Family👨‍👨‍👧‍👦


      สำหรับหนึ่งครอบครัวแล้วตามความรู้สึกคนโดยทั่วไปหากจะถามว่าสมาชิกจะประกอบด้วยใครบ้าง ก็คงหมายถึง พ่อ แม่ ลูก อาจจะรวมถึงหลานๆ แต่หาก พ่อ แม่ ของครอบครัวไหนเลิกรากัน แล้วฝ่ายใดฝ่ายนึงมีครอบครัวใหม่ล่ะ สมาชิกจะมีใครเพิ่ม….ใช่แล้ว พ่อเลี้ยงหรือแม่เลี้ยง ยังไงล่ะ แถมดีไม่ดีคุณได้จะได้พี่น้องเพิ่มขึ้นมา โดยที่ไม่ทันตั้งตัวอีกด้วยซ้ำในบางกรณี 555😁

      แบรด ชายที่มีความใฝ่ฝันอยากจะเป็นสุดยอดคุณพ่อตัวอย่าง แต่เจ้ากรรมเขาดันโชคร้ายจากการทำฟันจนทำให้เขาไม่สามารถมีลูกได้ในที่สุด (เกี่ยวอะไรกับการทำฟันไปหาดูกันเอาเองนะจ๊ะ 555)😀แต่สวรรค์ก็เหมือนมีตาส่ง ซาร่า และลูกๆของเธออย่าง เมแกนและดีแลน เข้ามาเป็นครอบครัวของเขา 

      ซึ่งด้วยความเป็นพ่อเลี้ยงนี่เอง แบรด ก็เลยยังไม่สามารถทำให้เด็กๆเปิดใจรับเขาเข้ามาเป็นส่วนนึงในชีวิต ยังไม่สามารถเรียก แบรด ว่าพ่อได้สักครั้ง แถมในตอนนี้ แบรด ยังมี ดัสตี้ สามีเก่าของ ซาร่า มาขั้นกลางเพิ่มระยะห่างระหว่างเขากับเด็กๆมากขึ้นไปอี

      แล้วยังต้องมานั่งหวาดระแวงว่าจะเสีย ซาร่า และลูกๆของเธอกลับไปให้กับ ดัสตี้ ที่ทั้งหล่อล่ำ มีเสน่ห์ และเก่งกว่าเขาในหลายๆเรื่อ🏋️‍♂️ แบรด ก็เลยต้องงัดทุกกระบวนท่าขึ้นมาเพื่อเอาชนะใจ ซาร่า และเด็กๆ ว่าถึงแม้เขาจะไม่ได้เป็นพ่อแท้ๆของเด็กทั้งสองคน แต่เขาก็รักและสามารถดูแลเด็กๆได้ดีและอาจจะดีกว่าพ่อแท้ๆอย่าง ดัสตี้ ด้วยซ้ำ
      ก่อนจะดูไม่ได้คาดหวังอะไรกับหนังมากเลยนะ คิดว่าคงจะมาในแนวครอบครัว ตลกนิดหน่อย ตบท้ายด้วยฟีลกู๊ด ที่ไหนได้ ฮา…จัดเต็มเลย 555😂 คือเรื่องนี้เป็นหนังตลกสไตล์ที่คนไทยน่าจะชอบนะ คือตลกโดยพฤติกรรมและคำพูด ตัวละครเล่นกันแบบหน้าตาย ไม่ได้เล่นใหญ่ให้ตลก แต่เล่นเหมือนเป็นพฤติกรรมปรกติของตัวละครแต่การแสดง บท และเรื่องราว การพูดประชดประชันเสียดสี ต่างหากที่มันทำให้เราตลก

      เป็นหนังครอบครัวที่เหมือนขยายไอเดียเพิ่มขึ้นจากปรกติที่ครอบครัวนึงก็ต้องเป็นเรื่องของ พ่อแม่ ลูก แต่เรื่องนี้ก็หยิบเรื่องราวของสังคมในปัจจุบันที่ความสัมพันธ์ของคนครอบครัวหนึ่งอาจจะมีสมาชิกคนใหม่เพิ่มเข้ามาโดยไม่ตั้งใจ โดยที่เด็กเองอาจจะไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจรับใครเข้ามาแทนที่ พ่อหรือแม่ของเรา 
      ซึ่งในหนังเรื่องนี้ก็ได้แสดงให้เห็นถึงการที่ พ่อเลี้ยง หรือ แม่เลี้ยง สักคนนึงจะเอาชนะใจเด็กๆได้ เอาจริงๆมันก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแต่มันก็ต้องอาศัยเวลาความจริงจังและจริงใจต่อกัน

      อีกประเด็นนึงของหนังที่สำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือความเป็นพ่อเป็นแม่คน ไม่ได้หมายความว่าแค่ให้กำเนิดเด็กมาสักคนแล้วก็ปิดจ๊อบจบงานสวยๆกันไป คำว่า “กำเนิด” มันก็ตรงตัวอยู่แล้วว่านี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น การเลี้ยงดูเอาใจใส่ต่างหากที่จะเป็นบทพิสูจน์ว่าใครคือพ่อแม่ที่แท้จริงของลูกๆ
      ดัสตี้ ผู้ชายที่ดูภายนอกใครได้เห็นก็ต้องบอกว่านี่แหละคือผู้ชายที่เป็นชายจริงๆ หล่อล่ำ แข็งแรง มีเสน่ห์ เก่งกาจในหลายๆเรื่อง แต่กับความรับผิดชอบในฐานะสามีและพ่อ ดัสตี้ กลับไม่สามารถทำได้เลย

      ผิดกับ แบรด ผู้ชายที่เป็น Loser😵 มาตั้งแต่เด็กๆ เป็นคนที่ไม่กล้าแม้เพียงจะปฏิเสธใครสักคนที่เขาก็ไม่ได้รู้จักด้วยซ้ำ แต่กลับกลายเป็น แบรด ที่สามารถดูแลเอาใจใส่ความรู้สึกของเด็กๆได้เป็นอย่างด

      จากตรงนี้ผมขอสรุปเอาเองซึ่งไม่รู้ว่าจะตรงใจหรือขัดใจใครหรือเปล่านะว่า ความเป็นพ่อ แม่ คน มันไม่ได้วัดกันที่เพศว่า พ่อหมายถึงผู้ชายหรือแม่จะต้อง หมายถึงผู้หญิง แต่ พ่อแม่ หมายถึง ใครสักคนไม่ว่าจะเพศไหนก็ตามที่ รัก ดูแล เอาใจใส่ ลูก หรือเด็กๆ ในความรับผิดชอบของตัวเองเป็นอย่างดีแล้วล่ะก็ คนคนนั้นก็เหมาะสมแล้วที่จะถูกเรียกว่า พ่อ และ แม่ 
      ในปัจจุบันก็มีหลายๆคนที่ต้องกลายเป็น พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว คนคนนึงไม่ว่าจะหญิงหรือชาย เมื่อต้องดูแลลูกตามลำพังต้องมารับบทพ่อและแม่ใครคราวเดียวกัน ฉะนั้นไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็สามารถเป็นได้ทั้งพ่อและแม่หากให้ความรักให้การดูแลเอาใจใส่เด็กๆมากพอ

      สรุปแล้วเรื่องนี้ถ้ามองกันว่าเป็นหนังตลกก็ตอบโจทย์ความฮาได้อย่างเต็มเหนี่ยว หากจะมองเป็นหนังครอบครัวก็สามารถให้แง่คิดกับเราได้หลายๆอย่างในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว ทั้งคนที่เป็น พ่อแม่ ลูก กันจริงๆ ร่วมทั้งครอบครัวไหน ที่อาจจะมีสมาชิกแปลกหน้าเพิ่มเข้ามาใหม่ก็ตาม

#MovieReview #รีวิวหนัง




😎

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Review: Dreaming Back to the Qing Dynasty (2019)

Dreaming Back to the Qing Dynasty (2019) ฝันคืนสู่ต้าชิง #Drama   #Romance Director: Lee Kwok Lap, Wai Hong Chui, Chen Shu Liang Screenwrite...