วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

SHIELD OF STRAW (2013)

SHIELD OF STRAW (2013) aka Wara no tate (Japan Movie)
#ปีนรั้วรีวิว #หนังระทึกขวัญ #Thriller#๋japan_movie #Shield_of_straw
      คำถามที่น่าจะเป็นคำถามตัวโตๆในใจของทุกคนเลยก็คือ  ทำไมจึงต้องมีการปกป้องคุมครองคนกระทำผิด  หลายๆครั้งเราจะเห็นความโมโหโกรธเคืองของฝูงชน  ที่มามุงดูการทำแผนประกอบคำรับสารภาพ  ผู้คนต่างสาปแช่งหรือบางครั้งก็ถึงขั้นพยายามลงมือทำร้ายผู้ต้องหา  แต่ในเมื่อระบบถูกสร้างขึ้นมาแบบนี้  ผู้คนที่มีหน้าที่ขับเคลื่อนกลไกก็ต้องทำตามระเบียบที่ได้รับมอบหมายมา  มันก็เลยอาจจะยังคงเป็นคำถามตัวโตๆต่อไปว่า  หรือเราทำได้แค่ยอมรับว่าเราปกป้องได้แค่คนที่ยังมีลมหายใจอยู่

      เมื่อฆาตกรต่อเนื่องที่ชอบฆ่าเด็กผู้หญิงอย่าง คิโยมารุ (เท็ตสึยะ ฟูจิวาระ) ความซวยมาเยือนเมื่อเหยื่อรายล่าสุดของเขานั้นคือ  หลานสาวของ นินากาว่า มหาเศรษฐีผู้ทรงอิทธิพลของเมือง  ที่แม้จะมีอายุมากแล้ว  เขาไม่สามารถล้างแค้นด้วยตัวเองได้  แต่ก็ได้ประกาศตั้งค่าหัวไว1,000,000 สำหรับคนที่ฆ่า คิโยมารุ ได้สำเร็จ และนี่เองที่เป็นสาเหตุให้คนจากทั่วสาระทิศ  มีเป้าหมายเดียวกัน คือ คิโยมารุ  ทางเดียวที่เจ้าตัวจะรอดได้ก็คือการเข้ามามอบตัวกับตำรวจ  แต่ภาระหนักก็ต้องตกมาอยู่กับทีมอารักขาฆาตกรที่มีค่าหัวอย่าง คิโยมารุ  ที่คนในทีมต้องคอยคุ้มครองความปลอดภัยเขา  เพื่อนำตัวส่งไปพิจารณาคดีที่ก่อกรรมเอาไว้
      หนังเรื่องนี้ดูครั้งแรกเมื่อสองปีกว่าที่แล้ว  ซึ่งเป็นอีกหนึ่งผลงานของลุง เกะ (ทาคาชิ มิอิเกะ)  ถ้าจะพูดถึงตัวหนังแล้ว  อาจจะไม่ถึงกับดีอะไรมากมายแต่ที่ชอบคือ สิ่งที่หนังตั้งคำถามหรือสิ่งที่สื่อออกมาว่า  ตกลงแล้วเราต้องปกป้องคุ้มครองผู้กระทำผิดจริงๆใช่ไหม  ส่วนเหยื่อนั้นเราไม่สามารถปกป้องอะไรได้เพราะเขาหรือเธอคนนั้นเสียชีวิตไปแล้ว  ทำได้แค่การให้ความเป็นธรรมกับเหยื่อและญาติพี่น้องคนที่รักพวกเขา  และคนที่ยังมีชีวิตอยู่ก็คือฆาตกรโดยการนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม  ซึ่งการนำตัว คิโยมารุ ไปสู่กระบวนการยุติธรรมครั้งนี้ก็ได้สร้างเรื่องราวมากมาย  จริงๆหนังดูจะจงใจในการหาเหตุผลมาให้กับคนที่พยายามฆ่า คิโยมารุ เพื่อเงินรางวัล  ว่าง่ายๆคือแทบทุกคนนั้นมีเหตุผลมารองรับความจำเป็นของตัวเอง  ทำให้มองแล้วส่วนนี้ของหนังดูพยายามจงใจแยกผู้คนเป็นขาวดำมากเกินไป
      อีกคำถามก็คือ เราจำเป็นต้องยอมสูญเสียคนดีๆไป  เพื่อการที่จะปกป้องฆาตกรไหม  ไม่ใช่แค่สูญเสียจากการเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่อย่างเดียว  ครอบครัวพวกเขายังต้องสูญเสียคนที่รักอีกด้วย  รวมทั้งความสูญเสียจากการที่หลายคนยอมสละตัวตนของตัวเอง  ยอมทำร้ายคนอื่นเพื่อเงินรางวัล  แล้วพอได้กลับมาดูอีกครั้งก็นึกขึ้นได้ว่า  หนังเรื่องนี้แทบจะไม่มีคนที่เป็นสีเทาเลย  ตัวละครมีแต่ขาวดำ สีดำก็คือ คิโยมารุ ที่เรียกได้ว่าดำสนิท(เท็ตสึยะ ฟูจิวาระ เล่นได้น่าหมันไส้มาก)  ส่วนสีขาวก็คนที่เหลือในเรื่องที่เป็นคนดีมีเหตุจำเป็นให้ต้องลงมือกันหมดเลย
      สรุปแล้วถึงแม้หนังเรื่องนี้จะมีส่วนขัดใจอยู่บ้าง  แต่ด้วยสิ่งที่หนังพยายามสื่อออกมาก็มีแง่มุมน่าสนใจ  ให้ผู้คนได้ขบคิดว่าจริงๆแล้วเราอาจจะรู้สึกตั้งคำถามกับระบบกับกระบวนการ  แต่สุดท้ายแล้วถ้าหากเราไม่ยึดมั่นอยู่ในระบบที่มี   มันก็มักนำพาความโกลาหลวุ่นวายตามมาเสมอ (อันนี้สรุปตามหนังนะ) สรุปของผมเองก็ยังข้องใจอยู่ดี ฮ่าฮ่า

ขอบคุณเครดิตรูปภาพจากภาพยนตร์ : SHIELD OF STRAW (2013)

#MovieReview #รีวิวหนัง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Review: All of Us Are Dead (2022)

 All of Us Are Dead (2022) มัธยมซอมบี้ Screenwriter:  Chun Sung Il Director:  Lee Jae Gyoo       ซีรีส์เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโรงเรียนมัธ...